วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สุดฮือฮา!!! แมงกะพรุนมหาศาล ลอยในทะเลตราด



                                                ฝูงแมงกะพรุงจำนวนมหาศาลในท้องทะเลตราด 
       จากกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพแมงกะพรุนจำนวนนับหมื่นลอยอยู่ในท้องทะเลกินพื้นที่
กว่ากิโลเมตรบริเวณหาดราชการุณย์ ในตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราด จากเฟซบุค
ของเจ้าหน้าที่วิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เดินทางมาทำโครงการให้กับศูนย์สภา
กาชาดไทยเขาล้าน จนเป็นข่าวแพร่ไปตามสื่อออนไลน์ต่างๆ และทำให้นักท่องเที่ยวต่างฮือฮา
ถึงความสวยงามน่ามหัศจรรย์ของธรรมชาติแล้วนั้น 
       
       วินิจ รังผึ้ง บรรณาธิการนิตยสาร อสท. และเป็นผู้ที่ชื่นชอบการดำน้ำ กล่าวถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า 
เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงปลายฝนต้นหนาว โดยจะเกิดขึ้นประมาณช่วงเดือนกันยายน
-พฤศจิกายน ไม่ใช่เหตุการณ์ผิดปกติของธรรมชาติหรือเป็นลางบอกเหตุแต่อย่างใด และสามารถพบได้
ทั่วไปในท้องทะเลบริเวณจังหวัดตราด เช่น หาดราชการุณย์ หาดทับทิม ในอำเภอเมือง และที่ชายหาด
บริเวณอำเภอคลองใหญ่ คือที่หาดเล็ก เขาล้าน เป็นต้น


สามารถชมแมงกะพรุนได้จากบนเรือ

           สำหรับแมงกะพรุนที่พบนั้นก็มีทั้งแมงกะพรุนโตนด แมงกะพรุนลอดช่อง แมงกะพรุนถ้วย 
ซึ่งมีสีใสอมชมพู หรือใสอมฟ้า รวมไปถึงแมงกะพรุนไฟ ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่พบในประเทศไทย 
และอาจมีแมงกะพรุนกล่อง ซึ่งเป็นแมงกะพรุนต่างประเทศแต่พบที่ประเทศไทย มีลักษณะเล็ก
หัวมนเหลี่ยมคล้ายกล่องมีแกนหนวด 4 แกนและแยกเป็นเส้นอีกมากมาย แต่ละเส้นจะยาวมาก 
หนวดมีเข็มพิษ หากโดนจะทำให้ระบบหัวใจเต้นผิดปกติและอาจล้มเหลวได้หากรักษาไม่ทัน 
การปฐมพยาบาลน้ำส้มสายชูราดที่แผลพอช่วยได้แต่ไม่มาก

แมงกะพรุนหลากสีสันฃ


       แต่ปรากฎการณ์นี้จะขึ้นอยู่กับกระแสลมและกระแสคลื่น ถ้าวันไหนลมและคลื่นสงบ แมงกะพรุน
ก็จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มให้เห็นจำนวนมาก และอยู่ใกล้ฝั่ง แต่หากวันไหนคลื่นลมแรงไม่สงบก็จะอยู่
แบบกระจายตัว

       สำหรับข้อควรระมัดระวังสำหรับผู้ที่จะไปชมแมงกะพรุนนั้น วินิจแนะนำว่า ถึงแม้ว่าเราจะสังเกต
เห็นว่าแมงกะพรุนอยู่ไกลๆ แต่ก็ไม่ควรลงน้ำเพราะไม่สามารถสังเกตเห็นหนวดของมันได้
เพราะหนวดจะมีความยาวมากและใส ไม่สามารถคาดคะเนได้ แม้หนวดที่ขาดแล้วก็ยังสามารถ

ทำให้เกิดอันตรายได้ ควรมีความระมัดระวังในการชม



                            นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ
        ด้านเจ้าที่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดตราด กล่าวว่า มีนักท่องเที่ยวให้
ความสนใจ และโทรไปสอบถามกับทางสำนักงานบ้างเช่นกัน แต่ยังเป็นส่วนน้อย เพราะไม่มีความ
แน่นอนในการไปชมเนื่องจากไม่สามารถคาดการได้ ขึ้นอยู่กับคลื่นลม อีกทั้งเป็นปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ

       
       แต่อย่างไรก็ตาม ฝูงแมงกะพรุนดังกล่าวก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยว
ในจังหวัดตราดได้ไม่น้อย โดยห้องพักในศูนย์ราชการุณย์ซึ่งอยู่บริเวณหาดราชการุณย์ถูก

จับจองจนห้องเต็มทั้งหมด เหลือเพียงเนื้อที่กางเต็นท์เท่านั้น       


                               
                                  แมงกะพรุนสีฟ้าสดใส
       
           ด้านนายคมฉาน ตะวันฉาย ช่างภาพและนักเขียนอิสระที่มีโอกาสได้ไปชมฝูงแมงกะพรุนที่
จังหวัดตราด กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นเพราะไม่เคยเห็นมาก่อน โดยสถานที่ที่ไปชมคือบริเวณหาดราชการุณย์ 
และที่คลองมะโร ในตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งได้ติดต่อเช่าเรือกับชาวบ้านในบริเวณนั้น 
และได้เห็นแมงกะพรุนเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงน้ำขึ้นจะพัดพาเอาแมงกะพรุนเข้าไปในคลอง และเมื่อ
น้ำลงแมงกะพรุนก็จะไหลลงมาพร้อมๆ กันและกระจุกตัวอยู่ด้วยกันเป็นฝูง หากคลื่นลมไม่แรงก็จะกระจุก
ตัวแบบนั้น ทำให้ได้เห็นแมงกะพรุนเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถคาดคะเนหรือระบุเวลาได้ว่าจะพบ
ได้มากเช่นนี้ในช่วงเวลาใด เพราะขึ้นอยู่กับกระแสลมและคลื่น นอกจากนั้น หากล่องเรือชมที่ชายหาด
ก็จะพบเห็นได้ในระยะที่ห่างจากฝั่ง 30-50 เมตรเท่านั้น


                         ไปชมกันได้ถึงประมาณเดือนกันยายน-พฤศจิกายน
       นายคมฉานกล่าวต่อว่า สำหรับชาวบ้านแถวนั้นถือว่าการพบเห็นฝูงแมงกะพรุนเป็นเรื่องปกติ 
และชาวบ้านจะตักแมงกะพรุนเหล่านี้ไปดองกับน้ำแช่เปลือกต้นนนทรี ขายในราคา 50 บาท/กิโลกรัม 
ส่วนมากคนจะซื้อไปปรุงเป็นอาหารจีน หรือเอาไปใส่ในเย็นตาโฟ ซึ่งถือเป็นรายได้ของชาวบ้านในช่วง
เดือนกันยายน-พฤศจิกายนนี้

ภาพและข้อมูลจากhttp://www.manager.co.th/

ความรู้เพิ่มเติม

ขอแบบมีสาระบ้างอ่านแล้วมีประโยชน์ช่วงวันหยุดใครไปทะเลก็ระวังกันหน่อย แมงกะพรุนมักเข้าฝั่ง
เวลาหลังฝนตก เพื่อกินอาหารที่ถูกพัดจากแผ่นดิน เลี่ยงการไปทะเลหลังฝนตก เวลาลงทะเลมองดู
น้ำรอบๆตัวไว้ด้วย หรือไม่ก็เลิกไปทะเลหน้าฝนมันซะเลยย่อมปลอดภัยสุดๆ

พิษที่ร้ายแรงที่สุดถึงขั้นตายได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีคือ "แมงกะพรุนกล่อง "(Box jellyfish) ชาวเลเรียกว่า

บอบอกาว หรือ บอบอกล่อง มี 4 classes ด้วยกัน (แมงกะพรุนกล่องอยู่ใน Cnidaria Phylum Cubozoa
 classes) ฉายานามได้มาจากรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมสมชื่อ ลำตัวใสมองเห็นได้ยากเวลาอยู่ในทะเล 
มีตาอยู่คู่หนึ่งแต่ทว่าสายตาไม่ค่อยดีดั่งผู้สูงวัย มีมือ(ตามภาษาชาวเล) เป็นเส้นๆ ยาวออกมาจากตัว 
ฉันเรียกเอาเองง่ายๆ ว่า แบบสายเดี่ยว(Single tentacles) กับแบบหลายสาย (Multi tentacles) เป็นที่
เก็บเข็มพิษไว้ (Nematocysts) เวลาโดนที่ผิวหนัง ห้ามใช้นิ้วดึงออกหรือใช้วัตถุใดๆ ขูดออกเด็ดขาด 
เพราะเป็นการเร่งให้เข็มพิษแทงเข้าไปในเนื้อแล้วปล่อยพิษเข้าสู่กระแสเลือด วิธีการหยุดยั้งไม่ให้
พิษซึมเข้าในร่างกายได้ ต้องใช้น้ำส้มสายชูซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ (ร้อยละ 3-5) ราดไปที่แผล ไม่ใช้
น้ำร้อนประคบเพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวกระจายพิษง่ายขึ้น ส่วนผักบุ้งทะเลช่วยลดความเจ็บปวด
เอาไว้ใส่ทีหลัง แต่ถ้าหัวใจหยุดเต้นก็อย่าเพิ่งไปมัวแต่หาน้ำส้มสายชู ต้องรีบปั๊มหัวใจผายปอดแล้ว
รีบนำส่งโดยด่วน

ที่อันตรายสุดๆ อีกชนิดคือแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (ชื่อที่เรียกไทยคือ แมงกะพรุนหมวกอุศเรน 

หรือ แมงกะพรุนไฟเรือรบ)โปรตุเกส (อังกฤษ: Portuguese man-of-war, Portuguese Man o' War
Bluebottle) เป็นแมงกะพรุนชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physalia physalis
ที่ได้ชื่อเช่นนี้ เนื่องจากรูปร่างคล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกสในยุคกลาง[1] หรือเรือรบของ
โปรตุเกสในยุคล่าอาณานิคมที่เรียกว่า Man-of-war มีรูปร่างสีฟ้าหรือสีม่วง มีหนวดยาว จัดอยู่ในวงศ์ 
Physaliidae และสกุล Physalia ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดเท่านั้น โดยปกติจะไม่พบในน่านน้ำไทย 
โดยจะพบในทะเลเปิดของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ทะเลเมดิเตอเรเนียน, มหาสมุทรแปซิฟิก 
และมหาสมุทรอินเดีย แต่จะอาจจะถูกกระแสน้ำพัดมาเกยตื้นหรือเข้าสู่น่านน้ำไทยได้ในบางฤดูกาล

**(จากเว็ปมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขณะนี้พบการแพร่ระบาดของแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ 
แมงกะพรุนหมวกอุศเรน (Portuguese Man-of-War) บริเวณชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต และคาดว่าการ
ระบาดนี้อาจจะพบได้ทั่วไปตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ซึ่งแมงกะพรุนชนิดนี้
เป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ หรือไม่ก็ต้องพบเจอกับความเจ็บปวดอย่างสาหัส
จากการสัมผัสหนวดซึ่งมีเข็มพิษของแมงกะพรุนดังกล่าว
ในเบื้องต้นจากการสำรวจของครูปิยะ โกยสิน (Racha SCUBA) โดยการเดินตามแนวชายหาดบริเวณ

ฝั่งตะวันตกของเกาะราชาใหญ่เป็นเวลา 3 นาที พบแมงกะพรุนชนิดนี้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยตัว อีกทั้งยังมี
ข่าวแจ้งว่า ขณะนี้มีนักท่องเที่ยวโดนพิษของแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกสแล้ว จำนวน 2 คน ซึ่ง
ถูกนำส่งโรงพยาบาลแล้วแต่ยังไม่ทราบความคืบหน้าของอาการ จึงขอเตือนผู้ที่อยู่อาศัยหรือนัก
ท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวในบริเวณดังกล่าว ให้เพิ่มความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำทะเล 
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากพิษของมัน แต่หากโดนพิษของแมงกะพรุนนี้เข้าไปแล้ว
ควรราดแผลด้วยกรดอ่อน ๆ เช่น น้ำส้มสายชู แล้วนำส่งโรงพยาบาลทันที)

ทั้งนี้ แมงกะพรุนหมวกโปรตุเกส จัดเป็นแมงกะพรุนชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เทียบเท่า

แมงกะพรุนกล่องหรือแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) และเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุด
ในโลกด้วย ซึ่งพิษนั้นจะทำลายระบบประสาท ผิวหนัง หัวใจ เมื่อถูกต่อยจะมีอาการปวดแสบ
ปวดร้อนอย่างมาก ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนพิษจะช็อค และหัวใจล้มเหลวก่อนที่จะกลับเข้าถึงฝั่ง
ยำรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น