ชาวบ้านอยุธยาฮือฮา แห่ดูปลากระสง ปลาโบราณท้องถิ่นหายาก ไม่พบมากว่า 10 ปี ลักษณะคล้ายปลาช่อน มีสีเหลืองทองทั้งตัว เชื่อเป็นเรื่องสิริมงคล
25 เม.ย. 56 เมื่อเวลา 15.00 น. ชาวบ้านตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกตื่นเข้าดูปลากระสงสีทองเหลืองอร่าม ที่บ้านเลขที่ 7 หมู่ 5 ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนางสาววันเพ็ญ สังข์หล่อ อายุ 59 ปี โดยปลากระสงเป็นปลาท้องถิ่นในประเทศไทย รูปร่างและสี คล้ายปลาช่อน ต่างกันที่หัวปลาช่อนจะมีรูปมน ส่วนหัวปลากระสงจะแหลมยาวกว่า คนทั่วไปไม่นิยมรับทานมากนัก เพราะว่าเนื้อแข็งและรสชาติไม่อร่อย เท่ากับเนื้อปลาช่อน
ทั้งนี้ปลากระสงสีทองที่พบตัวนี้น้ำหนักครึ่งกิโลกรัม ยาวประมาณ 1 ฟุต ลำตัวตั้งแต่หัวจรดห่าง รวมถึงครีบและเกล็ด สีทองเหลืองอร่ามไปทั้งตัว อย่างไรก็ตามปลากระสง เป็นปลาโบราณท้องถิ่น ที่หายไปจากคลองหนองบึง และท้องทุ่งในเขต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นานเกือบ 10 ปี แล้วเช่นกัน โดยการพบปลากระสงที่หายากแบบนี้ถือเป็นเรื่องสิริมงคลเช่นกัน
นางสาววันเพ็ญ กล่าวว่า ตนปลูกบ้านอยู่ริมคลองโพธิ์ ยึดอาชีพทำสวนต้นโสนเพาะเห็นตับเตาปลอดสารพิษขาย และเป็นผู้ค้นพบปลากระสงที่สวยงามตัวนี้ จากการดักลอบในคลองหน้าบ้าน ซึ่งปลากระสงตนเองไม่พบเคยพบในแหล่งน้ำธรรมชาติมาเป็น 10 ปีแล้ว และคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะปลาพวกนี้จะอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีเคมีหรือสารพิษ จะอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นธรรมชาติที่สะอาดเท่านั้น ซึ่งช่วงตัวเองเป็นเด็กและวัยรุ่น เคยเห็นปลาแบบนี้มากเช่นกันในท้องทุ่ง แต่ก็เป็นปลาออกสีดำหรือเทาเหมือนปลาช่อน แต่ช่วงนี้หาพบได้ยาก ยิ่งมาพบเป็นสีแปลกทองเหลืองอร่ามทั้งตัวแบบนี้ เกิดมาตนเองและชาวบ้านหลายคนไม่เคยพบเห็นเช่นกัน อย่างไรก็ตามตนเองจะนำปลากระสงสีทอง ไปถวายให้พระอาจารย์แดง วัดป้อมรามัญ เลี้ยงเพื่อให้นักท่องเที่ยวชมความงดงามต่อไป
นายสวาท บุญแท้ ข้าราชการสังกัดสำนักงานประมงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปลากระสงคล้ายปลาช่อนทั้งสีและขนาด แต่ปากจะแหลมกว่าเท่านั้น ส่วนเนื้อไม่อร่อยเท่าปลาช่อน เคยพบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ช่วงนี้พบน้อยลง เพราะว่าความที่คนไม่นิยมรับประทาน เมื่อจับมาได้จะขว้างทิ้งให้ตาย ปลากระสงไม่มีการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อน ในท้องทุ่งนาก็พบเห็นน้อยแล้ว อย่างไรก็ตามปลากระสงที่พบเป็นสีทอง เชื่อว่ามาจากการผ่าเหล่าทางพันธุกรรมของปลากระสงเอง ซึ่งหาได้ยาก แต่ก็คงเหมือนการผ่าเหล่าของปลาไหลสีทอง ซึ่งชาวบ้านทั่วไปมักมองว่าการพบสัตว์ที่เป็นสีทอง จะเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นความเชื่อที่ห้ามกันไม่ได้ และเป็นความเชื่อในเชิงบวก คือจะได้อนุรักษ์ปลาจำพวกนี้ไว้ต่อไป
ปลากระสง
ชื่อสามัญ Blotched snake-head fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa Lucius
ลักษณะทั่วไป ปลากระสงเป็นปลาน้ำจืด รูปร่างกลมยาว ลักษณะคล้ายปลาชะโด พื้นลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาล และจางลงจนเป็นสีเหลืองที่ด้านท้อง ข้างลำตัวมีจุดสีดำเรียงเป็นแถวคู่กันประมาณ 12 แถว ระหว่างแถวมีแถบสีขาวจางคดไปคดมา มีฟันแหลมคม 1-2 แนวบนเพดานปากแต่ละข้าง ครีบต่าง ๆ สีน้ำตาลดำ มีอวัยวะพิเศษเหนือบริเวณเหงือกช่วยในการหายใจ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
อุปนิสัย ชอบอาศัยอยู่ตามลำพัง ปกติจะเคลื่อนตัวช้าอยู่ใกล้ผิวน้ำบริเวณชายฝั่งที่มีพืชน้ำ และค่อย ๆ โผล่ขึ้นฮุบอากาศเป็นครั้งคราวเพื่อเก็บไว้หายใจ
ขนาด ความยาวประมาณ 20-40 ซม.
อาหาร กินกบ เขียด ปลา แมลง หอย
ถิ่นที่อยู่อาศัย พบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำทั่วไป
ประโยชน์ นิยมนำมาบริโภค
บริเวณที่พบในทะเลสาบสงขลา บริเวณตั้งแต่แหลมจองถนนและเกาะใหญ่จดปลายสุดทิศเหนือของทะเลหลวง, ทะเลน้อย
ชื่อสามัญ Blotched snake-head fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa Lucius
ลักษณะทั่วไป ปลากระสงเป็นปลาน้ำจืด รูปร่างกลมยาว ลักษณะคล้ายปลาชะโด พื้นลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาล และจางลงจนเป็นสีเหลืองที่ด้านท้อง ข้างลำตัวมีจุดสีดำเรียงเป็นแถวคู่กันประมาณ 12 แถว ระหว่างแถวมีแถบสีขาวจางคดไปคดมา มีฟันแหลมคม 1-2 แนวบนเพดานปากแต่ละข้าง ครีบต่าง ๆ สีน้ำตาลดำ มีอวัยวะพิเศษเหนือบริเวณเหงือกช่วยในการหายใจ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
อุปนิสัย ชอบอาศัยอยู่ตามลำพัง ปกติจะเคลื่อนตัวช้าอยู่ใกล้ผิวน้ำบริเวณชายฝั่งที่มีพืชน้ำ และค่อย ๆ โผล่ขึ้นฮุบอากาศเป็นครั้งคราวเพื่อเก็บไว้หายใจ
ขนาด ความยาวประมาณ 20-40 ซม.
อาหาร กินกบ เขียด ปลา แมลง หอย
ถิ่นที่อยู่อาศัย พบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำทั่วไป
ประโยชน์ นิยมนำมาบริโภค
บริเวณที่พบในทะเลสาบสงขลา บริเวณตั้งแต่แหลมจองถนนและเกาะใหญ่จดปลายสุดทิศเหนือของทะเลหลวง, ทะเลน้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น