ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพจริง ไร้การตัดต่อ ไร้โฟโตชอป และไม่ใช่คางคกพันธุ์ใหม่
แต่เป็นคางคกที่กำลังกินค้างคาว ซึ่งหน่วยลาดตระเวนบังเอิญบันทึกภาพ
ไว้ได้ภายในอุทยานแห่งชาติของเปรู ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก
สำหรับการตกเป็นเหยื่อของค้างคาว
แต่เป็นคางคกที่กำลังกินค้างคาว ซึ่งหน่วยลาดตระเวนบังเอิญบันทึกภาพ
ไว้ได้ภายในอุทยานแห่งชาติของเปรู ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก
สำหรับการตกเป็นเหยื่อของค้างคาว
ยูฟานิ โอลายา (Yufani Olaya) หน่วยลาดตระเวณป่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเปรู บันทึกภาพขณะคางคกยักษ์ (cane toad) กำลังเคี้ยวค้างคาว ระหว่างเขาปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนภายในอุทยานแห่งชาติเซร์โรสเดอาโมทาเป (Cerros de Amotape National Park) ของเปรู
ไลฟ์ไซน์รายงานว่า โอลายาส่งภาพถ่ายให้ ฟิล ตอร์เรส (Phil Torres) นักชีววิทยาที่ทำงานอยู่ในศูนย์วิจัยทัมโบพาตา (Tambopata Research Center) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยในลุ่มน้ำอเมซอนในเขตเปรู โดยความเห็นจากนักชีววิทยาระบุว่า ภาพดังกล่าวอาจจะเป็นภาพแรกของคางคกยักษ์ขณะกินค้างคาวก็ได้
ค้างคาวเคราะห์ร้ายในภาพน่าจะอยู่ในวงศ์ค้างคาวปากย่น (free-tailed bat) ซึ่งอาจจะเป็นค้างคาวปากย่นขนกำมะหยี่ (velvety free-tailed bat) หรือ มอลอสซุส มอลอสซุส (Molossus molossus) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปทางภาคเหนือของอเมริกาใต้ และตอร์เรสยังให้ข้อมูลแก่ไลฟ์ไซน์อีกว่า ยังมีตัวอย่างการพบคางคกชนิดอื่นกินค้างคาวปากย่นในบราซิลด้วย
คางคกยักษ์ได้ชื่อว่าเป็นจอมเขมือบที่ฉวยโอกาส และเป็นที่ทราบดีด้วยว่านักกินที่ตะกละ ซึ่งลักษณะเด่นดังกล่าวทำให้มันกลายเป็นเผ่าพันธุ์รุกรานที่มีชัยในพื้นที่อย่างออสเตรเลีย แต่ตอร์เรสกล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ค่อยพบได้บ่อยนัก ที่จะเห็นคางคกกินค้างคาว ซึ่งปกติจะบินอยู่ห่างไกลจากพื้นดินที่มีคางคกกระโดดหากินอยู่ แต่ในกรณีนี้ค้างคาวน่าจะบินเข้าปากคางคกเอง โดยค้างคาวน่าจะบินโฉบแมลงที่ใกล้พื้นดิน และคางคกก็ได้ลาภปาก
ด้าน ราเชล เพจ (Rachel Page) นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเขตร้อนสมิทโซเนียน (Smithsonian Tropical Research Institute) ในปานามา ซึ่งไม่มีส่วนในการสังเกตครั้งนี้ ให้ข้อมูลว่าทราบกันอยู่แล้วว่าคางคกก็กินค้างคาว แต่กรณีเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้คางคกก็ต้องมีโชคเข้าข้างอยู่บ้าง ซึ่งคางคกและกบบางชนิดก็ไปดักกินค้างคาวถึงปากถ้ำ โดยรอให้เหยื่อออกมาหากินตอนกลางคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในออสเตรเลีย
อย่างไรก็ดี ค้างคาวก็ไม่ใช่เหยื่อเสมอไปในโลกของ “ สัตว์กินสัตว์” โดยค้างคาวปากย่น ทราชอปส์ ซีร์โรซุส (Trachops cirrhosus) เป็นค้างคาวสปีชีส์ที่ราบกันว่ากินคางคก ซึ่งเพจเดาว่าเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยค้างคาวจำนวนมากจะออกล่ากบและคางคก โดยตามเสียงกรอบแกรบของเศษใบไม้ที่กบและคางคกสัญจรผ่าน และค้างคาวบางชนิดก็ตามเสียงกบตัวผู้ที่ส่งเสียงเรียกคู่ด้วย
ทว่าเหตุการณ์ที่เปรูนั้นลงเอยด้วยดีสำหรับค้างคาว เพราะหลังจากคางคกไม่ประสบความสำเร็จในการกลืนเหยื่อ มันก็คายออกมา ค้างคาวที่ยังมีชีวิตอยู่จึงบินจากไป
ภาพและข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น