แม้การเปลี่ยนอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยถือเป็นเรื่องปกติกันแล้วในปัจจุบัน เพราะมีการเปลี่ยนอวัยวะกัน
อย่างมากมาย ทั้งดวงตา ตับ ไต ลิ้นหัวใจ แม้แต่หัวใจทั้งดวงก็มีการเปลี่ยนกันแล้ว แต่อุปสรรคสำคัญ
อย่างมากมาย ทั้งดวงตา ตับ ไต ลิ้นหัวใจ แม้แต่หัวใจทั้งดวงก็มีการเปลี่ยนกันแล้ว แต่อุปสรรคสำคัญ
ในการเปลี่ยนอวัยวะก็คือ ต้องนำอวัยวะของผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วมาใช้ ทำให้เกิดอาการ "ต้าน"
อวัยวะชิ้นใหม่ที่เข้ามาทดแทนในร่างกายผู้ป่วย โดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ผู้ป่วยที่เข้ารับการเปลี่ยน
อวัยวะต้องกินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกายไปตลอดชีวิต เสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆ นานาได้ง่าย
นอกจากนั้นการรับอวัยวะจากผู้อื่นนั้น ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการคือ ความเข้ากันได้
ของอวัยวะกับร่างกายใหม่ ใช่ว่าผู้บริจาคคนหนึ่งจะมอบอวัยวะให้คนอื่นได้ทันที แพทย์ต้องพิจารณา
ถึงความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อและปัจจัยอื่นๆ อีกมาก
ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดของผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนอวัยวะก็คือ การเปลี่ยนอวัยวะ
ของตนเอง โดยมีดีเอ็นเอ สารพันธุกรรม และอื่นๆ จากตัวผู้ป่วยเอง ทำให้ไม่ต้องรอผู้บริจาคที่ต้องพร้อม
(เสียชีวิต) หรือ แพทย์ตรวจสอบแล้วว่ามีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย
ด้วยเหตุนี้เอง ศูนย์เทคโนโลยีสร้างอวัยวะทดแทนฮาร์วาร์ด (Harvard Apparatus
Regenerative Technology) หรือ ฮาร์ท หน่วยงานด้านชีวภาพการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
จึงได้คิดค้นวิธีการสร้างอวัยวะทดแทนขึ้นมาจากเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซลล์) ของผู้ป่วยที่ต้องการ
อวัยวะทดแทนขึ้นมา โดยเริ่มดำเนินการมาสักพักใหญ่ และมีผู้ป่วย 8 รายที่ใช้บริการอวัยวะทดแทน
จากการผลิตภายนอกร่างกายโดยศูนย์ฮาร์ทตั้งแต่ปี 2551
ล่าสุด ศูนย์ฮาร์ทได้ผลิตหลอดลม สำรองขึ้นมา โดยใช้การสร้างเนื้อเยื่อแบบ
เส้นใยบางๆ บางกว่าเส้นผมประมาณ 100 เท่า มาพันรอบท่อวัสดุสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วย
ที่ต้องการเปลี่ยนหลอดลม โดยเส้นใยเนื้อเยื่อดังกล่าวสร้างขึ้นมาจากการเพาะเนื้อเยื่อจากสเต็มเซลล์
ของผู้ป่วยรายนั้นๆ
ฮาร์ท กำลังทดลองการผลิตอวัยวะในรัสเซีย สหภาพยุโรป (อียู) และส่งรายงาน
ความคืบหน้าของโครงการให้แก่สำนักงานอาหารและยา (เอฟดีเอ) แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อการพิจารณา
อนุญาตการผลิตอวัยวะสำรองให้แก่ผู้ป่วยชาวอเมริกัน ที่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว
ก็มีผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนอวัยวะมากถึง 1.2 แสนคน
นายโจเซฟ วาคานตี้ ผู้นำการวิจัยวิศวกรรมเนื้อเยื่อ และนักวิทยาศาสตร์ด้านการ
ผ่าตัดแห่งโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เจนเนอรัล กล่าวว่า ตัวเลขผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมี
มากกว่านั้นมาก ดังนั้นการตั้งโรงงานผลิตอวัยวะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายจึงเป็นทางเลือกที่ตอบสนอง
ต่อความจำเป็นในโลกใบนี้ได้
แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งการสร้างอวัยวะในโรงงาน จะทำให้ "ความเป็นคน"
ลดลงหรือไม่ หรือเราต้องนิยามเรื่อง "คุณค่าของคน" กันใหม่แล้ว?
ภาพและข้อใูลจาก http://www.komchadluek.net/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น