วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทีมไทยได้ “อิกโนเบล”จากผลงานต่ออวัยวะเพศชาย

ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝันอีกต่อไป เมื่อทีมไทยคว้ารางวัล “อิกโนเบล” สาขา
สาธารณสุข ประจำปี 2013 จากผลงานต่ออวัยวะเพศชาย ด้านงานวิจัย
“ด้วงกุดจี่” เคลื่อนที่ตามการหมุนของทางช้างเผือกก็คว้ารางวัลในสาขา
ชีววิทยาและดารา ศาสตร์

      

       ผลการประกาศรางวัลอิกโนเบล (Ig Nobel Prizes) ประจำปี 2013 ที่จัดขึ้นโดย
นิตยสารรายปี "งานวิจัยที่ไม่น่าเป็นไปได้"* (Annals of Improbable Research)
เมื่อคืนวันพฤหัสบดี วันที่ 12 ก.ย.2013 ตามเวลาท้องถิ่น ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
(Harvard University) สหรัฐฯ ปรากฏว่ามีรายชื่อคณะจากประเทศไทยได้รับรางวัล
ในสาขาสาธารณสุข จากผลงานการต่ออวัยวะเพศชาย
      
       คณะกรรมการได้มอบรางวัลจากรายงานทางด้านเทคนิคการแพทย์เกี่ยวกับการ
ศัลยกรรมชั้นผิวหนังของอวัยวะเพศชายในประเทศไทย ซึ่งทีมแพทย์ที่ได้รับรางวัล
รับรองว่าเทคนิคดังกล่าวให้ผลดี ยกเว้นกรณีที่อวัยวะเพศชายถูกเป็ดกินไปบางส่วน
      
       สำหรับรายชื่อทีมไทยที่ได้รับรางวัลในสาขานี้ ได้แก่ เกษียร ภังคานนท์, ตู้ ชัยวัฒนา
**, ชุมพร พงษ์นุ่มกุล, อนันต์ ตัณมุขยกุล, ปิยะสกล สกลสัตยาทร, คริต โคมาราทาล**
และ เฮนรี ไวลด์
      
       สาขาจิตวิทยา : มอบให้แก่การทดลองที่พบว่า คนที่คิดว่าตัวเองเมาจะคิดว่า
ตัวเองนั้นมีสเน่ห์ดึงดูดด้วย ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำโดย เลอเรนต์ เบก (Laurent Bègue)
อูลมานน์ เซอร์ฮูนี (Oulmann Zerhouni) แบพติสต์ ซูบรา (Baptiste Subra) และ
เมธี อูราบาห์ (Medhi Ourabah) จากฝรั่งเศส และ แบรด บุชแมน (Brad Bushman)
ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท (Ohio State University) สหรัฐฯ
ซึ่งสอนที่เนเธอร์แลนด์ด้วย
      
       สาขาร่วมระหว่างชีววิทยาและดาราศาสตร์ : มอบให้แก่งานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า
ด้วงขี้ควายหรือกุดจี่ที่หลงทางนั้น สามารถหาทางกลับบ้านได้โดยใช้ทางช้างเผือก
นำทาง ซึ่งวิจัยนี้เป็นของ มารี ดัคเก (Marie Dacke) เอมิลี เบียร์ด (Emily Baird)
มาร์คัส ไบรน์ (Marcus Byrne) คลาร์ก สคอลต์ซ (Clarke Scholtz) และ อีริค วอร์แรนต์ (Eric Warrant) ทีมจากสวีเดน ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และ เยอรมนี
             
       สาขาการแพทย์ : เป็นการศึกษาการประเมินผลกระทบจากการฟังโอเปราที่มีต่อ
ผู้ป่วยที่ได้รับการ ปลูกถ่ายหัวใจ ในกรณีนี้คือหนู ซึ่งรางวัลสาขานี้มอบให้แก่ มาซาเทรุ
 อูชิยามะ (Masateru Uchiyama) จิน เซียง หยวน (Xiangyuan Jin) โทชิฮิโตะ ฮิราอิ
(Toshihito Hirai) อาสึชิ อามาโนะ (Atsushi Amano) ฮิซาชิ บาชุดะ (Hisashi Bashuda)
และ มาซาโนริ นิอิมิ (Masanori Niimi) จากญี่ปุ่น จีนและสหราชอาณาจักร
      
       สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย : มอบให้แก่ผลงานระบบกลศาสตร์ไฟฟ้าสำหรับ
จับกุมสลัดเครื่องบิน โดยการหยุดผู้ร้ายด้วยประตูดักจับ และผนึกไว้ในหีบห่อ จากนั้น
ปล่อยออกจากเครื่องบินพร้อมร่มชูชีพ ลงไปยังพื้นที่มีตำรวจรอรับอยู่ มอบให้แก่
กัสตาโน ปิซโซ (Gustano Pizzo) จากสหรัฐฯ ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี 2006
      
       สาขาฟิสิกส์ : มอบให้แก่การค้นพบว่าบางคนมีความสามารถทางกายภาพที่
วิ่งบนพื้นผิวของสระน้ำ ได้ หากทั้งคนและสระน้ำอยู่บนดวงจันทร์ ซึ่งเป็นงานวิจัยของ
อัลเบอร์โต มิเนตติ (Alberto Minetti) ยูริ อิวาเนนโก (Yuri Ivanenko) เจอร์มานา
แคปเปลลินิ (Germana Cappellini) นาเดีย โดมินิซี (Nadia Dominici) และ
ฟรานซิสโก แลคควินิตี (Francesco Lacquaniti) จากอิตาลี สหราชอาณาจักร
สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย และฝรั่งเศส
      
       สาขาเคมี : เป็นการค้นพบว่ากระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดจากหัวหอมที่ทำให้
คนเราร้องไห้ นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยเข้าใจ ผลงานวิจัยของ
ชินซุเกะ อิมาอิ (Shinsuke Imai) โนบุอากิ สึเกะ (Nobuaki Tsuge) มูเนอากิ
โทโมทาเกะ (Muneaki Tomotake) โยชิอากิ นากาโทเมะ (Yoshiaki Nagatome)
โทชิยูกิ นากาตะ (Toshiyuki Nagata) และ ฮิเดฮิโกะ กุมกาอิ (Hidehiko Kumgai)
จากญี่ปุ่น และเยอรมนี
      
       สาขาโบราณคดี : มอบให้แก่ 2 นักวิจัยที่นึ่งซากหนูผี (shrew) จากนั้นกลืนซาก
โดยไม่เคี้ยว เพื่อตรวจสิ่งที่พวกเขาขับถ่ายออกมาว่า กระดูกชิ้นไหนที่ถูกย่อยในระบบ
ทางเดินอาหารของมนุษย์ได้บ้าง และชิ้นไหนที่ย่อยไม่ได้ ซึ่งเป็นผลงานของ ไบรอัน
 แคนดัลล์ (Brian Crandall) จากสหรัฐฯ และ ปีเตอร์ สตาห์ล (Peter Stahl) จาก
แคนาดาและสรัฐฯ
      
       สาขาสันติภาพ* : มอบให้แก่ชาวเบลารุสและประธานาธิบดีของประเทศนี้ ที่ทำให้
การปรบมือในที่สาธารณะกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และแก่ตำรวจของรัฐในเบลารุส
ที่จับกุมชายแขนข้างเดียวที่ปรบมือ
      
       สาขาความน่าจะเป็น : มอบให้แก่นักวิจัยที่ค้นพบว่า ยิ่งวัวเอนตัวลงนอนไปนาน
แล้วเท่าไหร่ อีกไม่นานก็จะยืนขึ้น แต่เมื่อวัวยืนขึ้นแล้ว ก็ยากที่จะคาดเดาว่าวัวจะล้มตัว
ลงนอนอีกเมื่อไหร่ รางวัลนี้มอบให้แก่ เบิร์ต โทลแกมป์ (Bert Tolkamp) มารี แฮสเกลล์
(Marie Haskell) ฟรีธา แลงฟอร์ด (Fritha Langford) เดวิด โรเบิร์ตส (David Roberts)
และ โคลิน มอร์แกน (Colin Morgan) จากสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และ แคนาดา

ภาพและข้อมูลจาก http://www.manager.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น