วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หมู่บ้านโดนัท ถู่โหลว ฝูเจี้ยน ประเทศจีน

วันนี้ มาดูโบราณสถานแห่งหนึ่งที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นอยู่อาศัยของชาวจีนแคะ 
ที่มีรูปร่างอาคารบ้านแปลกตา มองระยะไกลในมุมสูงดูคล้ายวงกลมโดนัทดีๆ นั่นเอง
ที่ หมู่บ้านถู่โหลว ที่เมืองฝูเจี้ยน กัน
ถู่โหลว สถาปัตยกรรมคล้ายวงกลมโดนัท และสีเหลี่ยมของชาวจีนฮากก้า (แคะ) ที่เมืองฝูเจี้ยน 
ทางตอนใต้ของจีน

ก่อนอื่นทำความรู้จักกับชาวจีนแคะกันก่อน “ชาวจีนแค” เป็นชนกลุ่มน้อยของชาวฮั่นที่อาศัยอยู่
รวมกันที่เมืองกว่างตง (กวางตุ้ง) เจียงซี และฝูเจี้ยน กล่าวกันว่า บรรพบุรุษของพวกเขาอยู่ที่เมืองเหอหนาน 
และซ่านซี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อ 1,700 ปีก่อน ปัจจุบัน ชาวจีนแคะ ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่
ทางตอนใต้ของประเทศจีน และยังได้อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลไปในหลายประเทศในโลก รวมถึงประเทศ
ไทยเราด้วย ชาวจีนแคะมีอิทธิพลสำคัญในเรื่องอาหารและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในเรื่องการปฏิวัติและเรื่องผู้นำทางการเมือง

                                    
                                         คำว่า ฮากก้า หรือจีนแคะ มีอีกความหมายหนึ่งว่า ผู้มาเยือน

ชาวจีนแคะ บางส่วนที่ได้มาตั้งถิ่นฐานในเขตภูเขาของทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองฝูเจี้ยน 
ที่นี่พวกเขาได้พัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่รู้จักกันในนาม ถู่โหลว 
ซึ่งหมายถึงโครงสร้างทางตะวันออก ถู่โหลว เป็นสถาปัตยกรรมบ้านโบราณที่สร้างด้วยรูปทรงพิเศษ
ซึ่งคาดกันว่า เริ่มสร้างครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 12 มีรูปแบบทรงกลมคล้ายโดนัท หรือสี่เหลี่ยม 
และถูกออกแบบให้กลุ่มอาคารภายในวงกลมโดนัทที่ว่านี้เชื่อมต่อกันได้


ถู่โหลว เป็นที่รวบรวมบ้านของชาวบ้านไว้ด้วยกันภายใต้สถาปัตยกรรมรูปทรงกลมคล้ายโดนัท 
หรือสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครอบครัวชาวจีน มักนิยมอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัว
ขนาดใหญ่มาก จากหลายๆหมู่บ้าน รวมอยู่ที่เดียวกัน กลายเป็นเมืองขนาดย่อมดีๆ นี่เอง มีความสูง
ประมาณ 3-6 ชั้น มีประตูใหญ่เพื่อสัญจรเพียงหนึ่งบานสร้างจากไม้และเหล็ก

ภายในมีสภาพคล้ายตึกแถวในปัจจุบัน ทุกๆ ห้องมีขนาดเท่ากัน ถูกสร้างหันหน้าเข้าหากันโดย
ผนังหลังบ้านจะทำหน้าที่เป็นกำแพงของถู่โหลว กำแพงนี้มีขนาดหนาถึง 6 ฟุต โครงสร้าง
ประกอบด้วยหิน ดิน ซุง ไม้ไผ่ ประกอบกันจนแข็งแรงขนาดสามารถต้านทานการถูกโจมตีด้วย
ปืนใหญ่ มีช่องระบายลมที่จะเปลี่ยนเป็นป้อมเพื่อใช้ธนู (หรือปืน) ในการยิงต่อสู้กับโจร กำแพงดิน
หนายังช่วยป้องกันพายุลมแรง และทำให้อากาศใน ถู่โหลว เย็นในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว 
นอกจากนี้ด้วยโครงสร้างที่แน่นหนายังช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวซึ่งเกิดขึ้น
บ่อยในบริเวณนี้

ภายใน ถู่โหลว มีศาลเจ้าให้ชาวบ้านบูชากราบไหว้ ร้านค้า ฯลฯ เหมือนหมู่บ้านที่มีผู้อาศัยอยู่หลาย
ร้อยคน ซึ่งถ้าเป็น ถู่โหลว ขนาดเล็กก็จะเป็นคนตระกูล (แซ่) เดียวกัน แต่ถ้า ถู่โหลว มีขนาดใหญ่
อาจมีชาวบ้าน 2 – 3 ตระกูล (แซ่) อาศัยอยู่ร่วมกัน ปัจจุบันมี ถู่โหลว เหลืออยู่ประมาณ 2 หมื่นแห่ง
และหลายแห่งยังมีชาวบ้านอาศัยอยู่

หลายๆ คนเรียก ถู่โหลว ว่า “ฮากก้า ถู่โหลว” (Hakka Tulou) ตามชื่อของเชื้อสายชาวจีนที่เป็น
ผู้สร้างถู่โหลว (คำว่า ฮากก้า หมายถึงชาวจีนแคะ) แต่เมื่อองค์การยูเนสโก้ ยกให้ ถู่โหลว ขึ้นเป็น
มรดกโลกในปี 2008 มีการเปลี่ยนชื่อให้เป็นมาตรฐานว่า ฝูเจี้ยนถู่โหลว (Fujian Tulou) ตามชื่อ
สถานที่ที่ตั้งของ ถู่โหลว ส่วนใหญ่นั่นเอง
ภาพและข้อมูลจาก http://travel.mthai.com

ดูคลิปวิดิโอเกี่ยวกับหมู่บ้านฝูเจี้ยนถู่โหลว เพิ่มเติม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น