วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พบแหล่งน้ำจืดขนาดยักษ์ใต้ทะเล


นักวิจัยออสเตรเลียพบแหล่งน้ำจืดขนาดมหึมาอยู่ใต้พื้นมหาสมุทรบริเวณไหล่ทวีประหว่างออสเตรเลีย จีน 
อเมริกาเหนือ และแอฟริกาใต้ โดยคาดว่าปริมาณอาจมากถึง 5 แสนลูกบาศก์กิโลเมตร
                        วินเซนต์ โพสต์ จากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย เผยแพร่ผลศึกษาในวารสาร
เนเจอร์ ฉบับล่าสุดว่า ปริมาณแหล่งน้ำที่ว่านี้มีมากกว่าหลายร้อยเท่าเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่เราขุดจากใต้
บาดาลในศตวรรษที่ผ่านมานับจาก ค.ศ. 1900 และขณะที่แหล่งน้ำจืดบนโลกของเรากำลังมีปัญหาขัดสน
มากขึ้นเรื่อยๆ  การค้นพบแหล่งน้ำที่มีความเค็มต่ำนอกชายฝั่ง จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เพราะถือเป็นอีก
ทางเลือกสำหรับมนุษย์ที่กำลังแสวงหาหนทางลดผลกระทบจากภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ
                        ยูเอ็น วอเทอร์ หน่วยงานด้านน้ำของสหประชาชาติ ประเมินว่าปริมาณการใช้น้ำขยายตัว
เร็วกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสองเท่าในศตวรรษที่แล้ว เนื่องจากความต้องการน้ำในภาคเกษตรและ
การผลิตเนื้อสัตว์ ปัจจุบันมีประชากรโลกกว่า 40% ที่อยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ และภายในปี 2030 
จะเพิ่มเป็นร้อยละ 47
                        การวิจัยปริมาณน้ำใต้พื้นทะเลมาจากการรวบรวมผลการวิจัยใต้ทะเล ทั้งที่ทำเพื่อวัตถุประสงค์
ทางวิทยาศาสตร์ หรือสำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งทุกผลการศึกษามีจุดร่วมอย่างหนึ่ง คือ
การค้นพบน้ำจืดใต้พื้นทะเล
                        แหล่งน้ำจืดใต้พื้นทะเลก่อตัวมานานหลายล้านปีในอดีต เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงและ
พื้นที่ก่อนเป็นมหาสมุทรในปัจจุบัน ดูดซับน้ำฝนลงไปใต้พื้น เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกเริ่มหลอมละลายเมื่อราว
 2 หมื่นปีก่อน พื้นที่ดังกล่าวสูญหายไปใต้น้ำแต่ชั้นหินอุ้มน้ำยังคงอยู่โดยมีชั้นดินเหนียวและดินตะกอน
คุ้มกัน จะว่าไปก็เปรียบเทียบได้กับแอ่งน้ำทั้งหลายที่โลกพึ่งพาอาศัยเป็นแหล่งทำน้ำดื่ม แต่สิ้นเปลือง
น้อยกว่าการน้ำทะเล มาขจัดความเค็ม และนอนว่าการขุดเจาะน้ำจืดใต้สมุทรจะมีราคาแพง อีกทั้งต้อง
ระวังอย่างมากที่จะต้องไม่ให้ชั้นหินอุ้มน้ำที่เป็นตัวป้องกันเกิดการปนเปื้อน

ภาพและข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น