วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ม.ฮาร์วาร์ดเปิดโรงงานผลิตอวัยวะส่วนบุคคล


แม้การเปลี่ยนอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยถือเป็นเรื่องปกติกันแล้วในปัจจุบัน เพราะมีการเปลี่ยนอวัยวะกัน
อย่างมากมาย ทั้งดวงตา ตับ ไต ลิ้นหัวใจ แม้แต่หัวใจทั้งดวงก็มีการเปลี่ยนกันแล้ว แต่อุปสรรคสำคัญ
ในการเปลี่ยนอวัยวะก็คือ ต้องนำอวัยวะของผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วมาใช้ ทำให้เกิดอาการ "ต้าน" 
อวัยวะชิ้นใหม่ที่เข้ามาทดแทนในร่างกายผู้ป่วย โดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ผู้ป่วยที่เข้ารับการเปลี่ยน
อวัยวะต้องกินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกายไปตลอดชีวิต เสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆ นานาได้ง่าย
                         นอกจากนั้นการรับอวัยวะจากผู้อื่นนั้น ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการคือ ความเข้ากันได้
ของอวัยวะกับร่างกายใหม่ ใช่ว่าผู้บริจาคคนหนึ่งจะมอบอวัยวะให้คนอื่นได้ทันที แพทย์ต้องพิจารณา
ถึงความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อและปัจจัยอื่นๆ อีกมาก
                         ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดของผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนอวัยวะก็คือ การเปลี่ยนอวัยวะ
ของตนเอง โดยมีดีเอ็นเอ สารพันธุกรรม และอื่นๆ จากตัวผู้ป่วยเอง ทำให้ไม่ต้องรอผู้บริจาคที่ต้องพร้อม
 (เสียชีวิต) หรือ แพทย์ตรวจสอบแล้วว่ามีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย
                         ด้วยเหตุนี้เอง ศูนย์เทคโนโลยีสร้างอวัยวะทดแทนฮาร์วาร์ด (Harvard Apparatus 
Regenerative Technology) หรือ ฮาร์ท หน่วยงานด้านชีวภาพการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 
จึงได้คิดค้นวิธีการสร้างอวัยวะทดแทนขึ้นมาจากเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซลล์) ของผู้ป่วยที่ต้องการ
อวัยวะทดแทนขึ้นมา โดยเริ่มดำเนินการมาสักพักใหญ่ และมีผู้ป่วย 8 รายที่ใช้บริการอวัยวะทดแทน
จากการผลิตภายนอกร่างกายโดยศูนย์ฮาร์ทตั้งแต่ปี 2551
                         ล่าสุด ศูนย์ฮาร์ทได้ผลิตหลอดลม สำรองขึ้นมา โดยใช้การสร้างเนื้อเยื่อแบบ
เส้นใยบางๆ บางกว่าเส้นผมประมาณ 100 เท่า มาพันรอบท่อวัสดุสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วย
ที่ต้องการเปลี่ยนหลอดลม โดยเส้นใยเนื้อเยื่อดังกล่าวสร้างขึ้นมาจากการเพาะเนื้อเยื่อจากสเต็มเซลล์
ของผู้ป่วยรายนั้นๆ
                         ฮาร์ท กำลังทดลองการผลิตอวัยวะในรัสเซีย สหภาพยุโรป (อียู) และส่งรายงาน
ความคืบหน้าของโครงการให้แก่สำนักงานอาหารและยา (เอฟดีเอ) แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อการพิจารณา
อนุญาตการผลิตอวัยวะสำรองให้แก่ผู้ป่วยชาวอเมริกัน ที่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว
ก็มีผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนอวัยวะมากถึง 1.2 แสนคน
                         นายโจเซฟ วาคานตี้ ผู้นำการวิจัยวิศวกรรมเนื้อเยื่อ และนักวิทยาศาสตร์ด้านการ
ผ่าตัดแห่งโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เจนเนอรัล กล่าวว่า ตัวเลขผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมี
มากกว่านั้นมาก ดังนั้นการตั้งโรงงานผลิตอวัยวะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายจึงเป็นทางเลือกที่ตอบสนอง
ต่อความจำเป็นในโลกใบนี้ได้
                         แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งการสร้างอวัยวะในโรงงาน จะทำให้ "ความเป็นคน" 
ลดลงหรือไม่ หรือเราต้องนิยามเรื่อง "คุณค่าของคน" กันใหม่แล้ว?

ภาพและข้อใูลจาก http://www.komchadluek.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น