วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ชาวบ้านฮือฮา! พบ "ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ" สีสันสวยงาม


เพชรบุรี - ชาวบ้านตำบลเขากระปุก เพชรบุรี ฮือฮา! พบค้างคาวประหลาด
มีสีสันแปลกตาสวยงามติดที่หน้ากระจังรถกระบะ แต่เสียชีวิตแล้ว ตรวจสอบ
พบ เป็น "ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ" หรือ "ค้างคาวสี" ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 

       
       วันนี้ (16 ต.ค.2557) นายปรีชา บุตรรอด อายุ 50 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4
.เขากระปุก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า ได้พบค้างคาวตัวหนึ่งมีลักษณะ
ประหลาดติดมากับรถของตนเอง หลังจากที่ตนขับรถกลับจากออกไปทำธุระนอกบ้าน
หลังจากนำรถกระบะนิสสัน บิ๊กเอ็ม สีน้ำเงิน หมายเลขทะเบียน บธ 7346 เพชรบุรี
เข้ามาจอดที่บ้านแล้วสังเกตเห็นว่าบริเวณหน้ากระจังรถยนต์ของตนมีอะไรติดอยู่
จึงเดินเข้าไปดู และพบว่าเป็นค้างคาวตัวเล็ก ที่มีสีสันแปลกตา สวยงามมาก
ติดอยู่ที่บริเวณหน้ากระจังรถ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ค้างคาวตัวดังกล่าวเสียชีวิตแล้ว

       

       จากการตรวจสอบค้างคาวตัวดังกล่าวพบว่าไม่เหมือนค้างคาวโดยทั่วไป
ที่ตนเคยพบเห็นมี โดยตัวนี้มีสีสันแปลกตา สวยงามมาก โดยลำตัวด้านหลังมีสีส้มทอง
ปีกเป็นสีส้มทองสลับสีดำ ส่วนด้านหน้าบริเวณอกเป็นสีส้มอ่อนปนขาว มีขนปุกปุย
ปีกด้านในมีสีดำสลับส้มทอง แต่น่าเสียดายที่ค้างคาวตัวที่พบนี้ได้ตายแล้ว
โดยเป็นค้างคาวเพศผู้ ลำตัวกว้างประมาณ 3.4 เซนติเมตร กว้างประมาณ 7
เซนติเมตร คาดว่าระหว่างที่ตนขับรถกลับซึ่งผ่านพื้นที่ป่า ค้างคาวตัวนี้อาจบิน
ผ่านมาพอดีจึงทำให้รถชนและตัวค้างคาวติดมากับรถ

       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่าค้างคาวดังกล่าวที่พบเป็น
 "ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ" หรือ "ค้างคาวสี" 
 ซึ่งเป็นค้างคาวขนาดเล็ก
มีขนาดลำตัวและปีกพอๆ กับผีเสื้อ มีน้ำหนักประมาณ
 10 กรัม ความยาวตลอด
ปลายปีกประมาณ 15 เซนติเมตร ขนตามลำตัวสีส้มสด 
ใบหูใหญ่ ปีกมีสีแดง
แกมน้ำตาลบางส่วน ส่วนที่เหลือเหมือนค้างคาวทั่วไป ค้นพบ
ครั้งแรกใน
หมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตั้งแต่อินเดีย,

 ศรีลังกา, พม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, เวียดนาม, ไทย, มาเลเชีย และอินโดนีเซีย
สำหรับในประเทศไทยแล้วเป็นค้างคาวที่พบได้น้อย แต่สามารถพบได้ทั่วทุกภาค

       
       มีพฤติกรรม มักเกาะอาศัยตามยอดใบกล้วยที่ม้วนเป็นหลอดหรือท่อ และจะย้าย
ไปเรื่อยๆ เมื่อยอดกล้วยแก่ขยายออกไม่ม้วนเป็นหลอดแล้ว นอกจากนี้ยังพบเกาะ
ตามใบไม้แห้งของต้นไม้, ยอดหญ้าพง, ยอดอ้อ และยอดอ้อย อยู่เป็นคู่หรือโดดเดี่ยว
 ออกหากินในเวลาเย็น โดยบินต่ำระดับยอดไม้พุ่ม ลักษณะการบินคล้ายผีเสื้อ
กลางคืนขนาดใหญ่ แต่บินเร็วกว่ามาก อาหารได้แก่แมลงต่างๆ โดยเฉพาะแมลง
ที่มีขนาดเล็ก มีพฤติกรรมจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมิถุนายน ค้างคาวตัวผู้และ
ตัวเมียรวมทั้งลูกอ่อนที่เกาะติดอกแม่ถูกจับได้พร้อมกันบนใบตองแห้งในเดือนสิงหาคม

       
       "ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ" หรือ "ค้างคาวสี" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


ภาพและข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น